ประวัติความเป็นมา

มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติได้เริ่มวางโครงการห้องสมุดพร้อมกับโครงการจัดตั้งวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัย เพื่อเตรียมความพร้อมทางด้านบริการวิชาการและใช้ชื่อว่า”ศูนย์บรรณสารสนเทศ” มีประวัติและพัฒนาการมาโดยลำดับ

  • พ.ศ. 2567

    – ปรับปรุง Collection เอกสารของมหาวิทยาลัยเป็นรูปแบบดิจิทัล และไม่ให้บริการตัวเล่ม ได้แก่ การศึกษาอิสระ โครงการ (โครงงาน) พิเศษ การวิจัย ระดับปริญญาตรี โดยให้บริการในรูปไฟล์ฉบับเต็ม ที่ HAS (https://has.hcu.ac.th/jspui/) และยกเลิกการเก็บและให้บริการรายงานสหกิจ

    – ปรับปรุงการจัดเก็บสื่อวิดิโอ และพิจารณาเนื้อหาที่มีความสำคัญของมหาวิทยาลัย รวมทั้งสอดคล้องกับการเรียน การสอน ประเพณี วัฒนธรรมของจังหวัดสมุทรปราการ จัดเก็บเป็นสื่ออื่นๆ ทดแทน

  • พ.ศ. 2566
    – ศูนย์บรรณสารสนเทศ ต่อสัญญาการใช้ระบบบริหารจัดการ WorldShare Management Services – WMS รอบที่ 2 (สัญญา 3 ปี พ.ศ. 2566 – พ.ศ. 2568)
    – ปรับปรุง Collection เอกสารของมหาวิทยาลัยเป็นรูปแบบดิจิทัล และไม่ให้บริการตัวเล่ม ได้แก่ วิทยานิพนธ์ วิจัย โดยให้บริการในรูปไฟล์ฉบับเต็ม ที่ HAS (https://has.hcu.ac.th/jspui/) และยกเลิกการเก็บและให้บริการเอกสารประกอบการอบรม
    31 พฤษภาคม 2566
    พัฒนาระบบ Dspace เพื่อจัดทำเป็นคลังเก็บผลงานดิจิทัลของมหาวิทยาลัย ภายใต้ ชื่อ HAS ซึ่งย่อมาจาก Huachiew Archiving System (https://has.hcu.ac.th/jspui/) 
    3 มกราคม 2566 ให้บริการจ่ายค่าปรับผ่าน QR code

  • พ.ศ. 2565
    1 กันยายน 2565 ให้บริการการจองห้อง E-booking

  • พ.ศ. 2564
    สิงหาคม
    ให้บริการวารสารในรูปแบบสแกนคิวอาร์โค้ดอ่านออนไลน์ (ไม่บริการตัวเล่ม)
  • พ.ศ. 2563
    30 ตุลาคม 2563 เปิดให้บริการ Co-working Space ชั้น 6
    เมษายน 2563 เริ่มใช้ระบบ Less Paper กับงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์
    1 เมษายน 2563 เปิดให้บริการหยิบตัวเล่มหนังสือผ่านการจองระบบออนไลน์ และกำหนดวันเพื่อมารับตัวเล่มตามที่แจ้งในระบบการจอง
    21 มีนาคม 2563-30 เมษายน 2563 ปิดให้บริการพื้นที่ศูนย์บรรณสารสนเทศตามประกาศของมหาวิทยาลัยเนื่องจากการแพร่ระบาดโรค COVID-19  แต่ให้บริการอื่น ๆ ออนไลน์ เริ่ม Work from Home มีการกำหนดแนวทางการให้บริการของศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 และจัดทำสารสนเทศ COVID-19 เพื่อเป็นบันทึกเหตุการณ์และเป็นแหล่งค้นคว้า11 มกราคม 2563 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เข้าร่วมงานครบรอบ 70 ปี ของหนังสือพิมพ์ซินเสียเยอะเป้า และได้รับเป็น 1 ใน 10 เพื่อนที่ดีที่สุดของหนังสือพิมพ์ซินเสียเยอะเป้าจากงาน ฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์ภาษาจีนในประเทศไทย
    มกราคม 2563 เริ่มใช้ระบบ e-Saraban อย่างเต็มรูปแบบ

  • พ.ศ. 2562
    25 ตุลาคม 2562 อบรมการใช้ระบบ e-Saraban เพื่อใช้ในงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ได้รับความเห็นชอบในการปรับพื้นที่ชั้น 6 เป็น Co-Working Space
    19 กันยายน 2562 บุคลากรศูนย์บรรณสารสนเทศ เข้าร่วมรับเกียรติบัตรลดก๊าซเรือนกระจก โดย องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ณ โรงแรมเบิร์เคลีย์ ประตูน้ำ
    28 กรกฎาคม 2562 ปิดให้บริการห้องสมุดที่วิทยาเขตยศเส ย้ายหนังสือมาให้บริการที่วิทยาเขตบางพลีแห่งเดียวปรับพื้นที่บริการชั้น 1 เพื่อขยายพื้นที่ให้บริการมากขึ้น
    พฤษภาคม 2562 ให้บริการ Learning space อย่างเป็นทางการและเริ่มบริการถึง 24.00 น. ก่อนสอบ

  • พ.ศ. 2561
    3 ตุลาคม 2561
     ปรับเปลี่ยนเวลาการให้บริการศูนย์บรรณสารสนเทศ วิทยาเขตยศเส เป็น 09.00-17.00 น.
    28 กันยายน 2561 ลงนามในบันทึกข้อตกลง ความร่วมมือห้องสมุดด้านประกันคุณภาพการศึกษา รอบปีที่ 6 
    กันยายน 2561 เริ่มทดลองเปิดให้บริการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ C
    สิงหาคม 2561 ย้ายส่วนบริการห้องสมุดของศูนย์บรรณสารสนเทศ วิทยาเขตยศเส จากชั้น 1 ไปให้บริการที่่ชั้น 3 
    20 กรกฎาคม 2561 ได้รับรางวัลระดับดี Smart Office 2018
    19 กรกฎาคม 2561 ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ส่งมอบหนังสือพิมพ์จีนและไฟล์ดิจิทัลหนังสือพิมพ์จีน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2466-2529 ให้แก่สำนักหอสมุดแห่งชาติ ซึ่งเป็นความร่วมมือทางวิชาการระหว่างหอสมุดแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และต่อยอดการถ่ายสำเนาหนังสือพิมพ์จีนในระยะที่ 3 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 เป็นต้นไป
    28 มิถุนายน 2561 พัฒนาเว็บไซต์ศูนย์บรรณสารสนเทศ ภาษาจีน
    7 มีนาคม 2561 พัฒนาเว็บไซต์ศูนย์บรรณสารสนเทศ ภาษาอังกฤษ
    มีนาคม 2561 จัดทำหอเกียรติยศออนไลน์มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัย
    4 มกราคม 2561 โอนห้องสมุดภาษาจีน ยศเส มาอยู่ภายใต้การบริหารงานของศูนย์บรรณสารสนเทศ

  • พ.ศ. 2560
    2 พฤศจิกายน 2560 
    เริ่มใช้ระบบ WorldShare Management Services 
    20 กรกฎาคม 2560 ได้รับรางวัลชนะเลิศ Smart Office 2017
    พฤษภาคม 2560 ได้รับความเห็นขอบในการปรับปรุงห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ C เป็น Learning Space 
    25 เมษายน 2560 ลงนามความร่วมมือทางวิชาการในการใช้ทรัพยากรร่วมกันกับสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    23 มีนาคม 2560 เข้ารับประทานเกียรติบัตรห้องสมุดสีเขียว จากพระเจ้าวรวงค์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ในงานประชุมสามัญประจำปี และประชุมวิชาการ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ  ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ
    มีนาคม – กรกฎาคม 2560 Implement ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WMS
    21 มีนาคม 2560  เข้ารับโล่ประกาศเกียรติคุณห้องสมุดสีเขียว และรางวัลพิเศษสำหรับผู้บริหารที่มีการนำเสนอดีเด่น จากนายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
    25 มกราคม 2560  ศูนย์บรรณสารสนเทศ รับการตรวจประเมินห้องสมุดสีเขียว จากคณะกรรมการประกอบด้วยผู้เชียวชาญด้านสิ่งแวดล้อม และผู้เชี่ยวชาญด้านห้องสมุด
     
  • พ.ศ. 2559 
    7 ธันวาคม 2559 ศูนย์บรรณสารสนเทศ รับรางวัลสำนักงานสีเขียว ระดับทอง จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
    2 พฤศจิกายน 2559 ศูนย์บรรณสารสนเทศ ลงนามความร่วมมือด้านการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว และการประชุมผู้บริหารเครือข่าย ความร่วมมือห้องสมุดสีเขียว
    20 ตุลาคม 2559 เปิดสถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 5 ศูนย์บรรณสารสนเทศ
    20 กันยายน 2559 ศูนย์บรรณสารสนเทศ ลงนามในบันทึกข้อตกลง ความร่วมมือห้องสมุดด้านประกันคุณภาพการศึกษา รอบปีที่ 5
    30 สิงหาคม 2559 อาคารบรรณสาร รับการตรวจประเมินโครงการสำนักงานสีเขียว ระดับยอดเยี่ยม
    11 สิงหาคม 2559 อธิการบดี และผู้บริหาร เปิดห้องสมุดในสวน บริเวณหน้าศูนย์บรรณสารสนเทศ
    7 กรกฎาคม 2559 ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้รับรางวัล 7ส ยอดเยี่ยม ประเภทหน่วยงาน
    มิถุนายน 2559 มหาวิทยาลัยอนุมัติในการใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WordShare Management Services (WMS)
    30 มิถุนายน 2559อาคารบรรณสาร รับการตรวจประเมินโครงการสำนักงานสีเขียว และผ่านเข้ารอบ “ยอดเยี่ยม” หรือระดับทอง
    29 มีนาคม 2559 อาคารบรรณสาร รับการตรวจประเมินโครงการ Thailand Energy Awards2016 จากกระทรวงพลังงาน
    กุมภาพันธ์ 2559อาคารบรรณสารสนเทศ โดยศูนย์บรรณสารฯ ได้รับมอบหมายในการเข้าร่วมโครงการสำนักงานสีเขียว โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
    27 มกราคม 2559 อาคารบรรณสารเป็น 1 ใน 3 อาคารประหยัดพลังงานของมหาวิทยาลัย ที่เข้าร่วมประกวดอาคารประหยัดพลังงาน และได้รับรางวัลชนะเลิศอาคารประหยัดพลังงานประเภทมหาวิทยาลัยจากโครงการ MEA Energy Saving Building 2015 ของการไฟฟ้านครหลวง
    มกราคม 2559 เปิดตัวเว็บไซต์ใหม่ของศูนย์บรรณสารฯ และเว็บการจัดการความรู้ เพื่อใช้เป็นช่องทางในการเข้าถึงสารสนเทศของศูนย์บรรณสารฯ และแหล่งสารสนเทศอื่นๆ รวมทั้งเพื่อเป็นการเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร การประชาสัมพันธ์ ของศูนย์บรรณสารฯ กับผู้ใช้ห้องสมุด
     
  • พ.ศ. 2558
    พฤศจิกายน 2558 ปรับเปลี่ยนช่องทางการสื่อสารเป็น FB Fanpage ของศูนย์บรรณสารฯ เพื่อให้มีการสื่อสารกับผู้ใช้ห้องสมุดได้ในวงกว้างมากยิ่งขึ้นที่ https://www.facebook.com/libhcufanpage
    24 สิงหาคม 2558 รับมอบหนังสือภาษาจีนจากคุณพิรุณ  ฉัตรวนิชกุล  และ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ชลธิรา  สัตยาวัฒนา
    30 เมษายน 2558 เปิดห้องสมุดวัฒนธรรมและศาสนาเต๋า ซึ่งอยู่บริเวณชั้น 1 ส่วนหลัง
     
  • พ.ศ. 2556
    มีนาคม 2556 ต่อยอดงานการอนุรักษ์หนังสือพิมพ์จีนในประเทศไทย ซึ่งตีพิมพ์ตั้งแต่ปี 2461-2529 ที่มีการจัดทำสำเนาไปแล้ว 1,122,497 หน้า มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติได้ผลักดัน ให้มีการพัฒนาระบบสืบค้นข้อมูลสำเนาหนังสือพิมพ์จีนในประเทศไทย ชื่อว่า Thailand Digital Chinese Newspaper (TDCN) และให้ศูนย์บรรณสารฯ ดำเนินงานโครงการจัดทำสำเนาหนังสือพิมพ์จีนในประเทศไทย ในระยะที่ 2 ต่อไป
     
  • พ.ศ. 2554
    กันยายน 2554 ได้รับบริจาคคอมพิวเตอร์ จากมูลนิธิสร้างเสริมไทย โดย คุณแจ็ค มินทร์ อิงค์ธเนศ จำนวน 20 เครื่อง เพื่อส่งเสริมการศึกษาและผลักดันให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ ที่ห้อง Leaning with Fun ชั้น 2 แผนกทรัพยากรการเรียนรู้
     
  • พ.ศ. 2553
    ธันวาคม 2553 เพิ่มช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้บริการ โดยจัดทำ facebook ของศูนย์บรรณสารสนเทศขึ้นที่ http://www.facebook.com/libhcu
     
  • พ.ศ. 2552
    มกราคม 2552 เริ่มดำเนินงานตามโครงการจัดทำสำเนาหนังสือพิมพ์จีนในประเทศไทย ซึ่งเป็นความตกลงร่วมมือกับสำนักหอสมุดแห่งชาติ
     
  • พ.ศ. 2551
    29 กันยายน 2551 ลงนามความร่วมมือกับสำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ในโครงการจัดทำสำเนาหนังสือพิมพ์จีนในประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2460 ถึงปัจจุบัน 
    มิถุนายน 2551 เข้าร่วมโครงการจัดทำฐานข้อมูล TDC หรือ Thai Digital Collection ซึ่งเป็นโครงการหนึ่งของ ThaiLIS โดยมีเป้าหมายเพื่อให้บริการสืบค้นฐานข้อมูลเอกสารฉบับเต็ม
     
  • พ.ศ. 2550
    มีนาคม 2550 ปรับปรุงพื้นที่การจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศ ชั้น 5 ห้องสมุดการแพทย์แผนจีน และห้องสมุดภาษาจีน
     
  • พ.ศ. 2549
    1 สิงหาคม 2549  เปิดให้บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศด้วยระบบ VTLS-Virtua
    มิถุนายน 2549  Migration ข้อมูลและปรับเปลี่ยนระบบ จากเดิมระบบ VTLS-Classic เป็นระบบ VTLS-Virtua ตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2549 จนถึงเปิดให้บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ ได้วันที่ 1 สิงหาคม 2549
     
  • พ.ศ. 2547
    ตุลาคม 2547 จัดตั้งห้องสมุดนิติศาสตร์ (กฎหมาย) ที่ชั้น 3
    พฤษภาคม 2547 จัดตั้งห้องสมุดการแพทย์แผนจีนขึ้นที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ ชั้น 4
    เมษายน 2547 ย้ายหอจดหมายเหตุมาที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ ชั้น 4
     
  • พ.ศ. 2545
    ตุลาคม 2545 
    ปรับปรุงพื้นที่ให้บริการยืม-คืน ที่ชั้น 1 และปรับเปลี่ยนพื้นที่จัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศสาขาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์สุขภาพทั้งภาษาไทยและต่างประเทศ ที่ชั้น 6 ส่วนหนังสือในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ทั้งภาษาไทยและต่างประเทศ จัดเก็บรวมกันที่ชั้น 3 และโอนย้ายเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 127 เครื่องให้แผนกบริการคอมพิวเตอร์ กองกลาง ดูแล
    สิงหาคม 2545 เปิดให้บริการ UBC Cable TV ที่แผนกทรัพยากรการเรียนรู้และจัดตั้งหอเอกสาร ดร. อุเทน เตชะไพบูลย์ ณ ชั้น 5
    มิถุนายน 2545 ปรับโครงสร้างองค์กรโดยโอนย้ายงานจัดซื้อจากแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ มาขึ้นอยู่กับสำนักงานเลขานุการ
     
  • พ.ศ. 2543
    ตุลาคม 2543 
    เริ่มใช้งานระบบ Blackboard เพื่อใช้ร่วมกับการเรียนการสอนผ่านอินเตอร์เน็ต และอินทราเน็ต
    กันยายน 2543  เพิ่มเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อบริการศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองโดยการสืบค้นผ่านอินเตอร์เน็ตรวม 100 เครื่อง โดยการกระจายอยู่ตามชั้นต่าง ๆ 
    สิงหาคม 2543  ขยายพื้นที่ให้บริการ และค้นคว้าในชั้น 6 อย่างเป็นทางการโดยให้บริการหนังสือภาษาอังกฤษ 
    4 มกราคม 2543  เปิดให้บริการสืบค้นข้อมูลของศูนย์บรรณสารสนเทศโดยไม่จำกัดเวลา และสถานที่ โดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
     
  • พ.ศ. 2542 
    21 ธันวาคม 2542  เปิดใช้ระบบ VTLS อย่างเป็นทางการ
    สิงหาคม 2542 สภามหาวิทยาลัย อนุมัติให้ศูนย์บรรณสารสนเทศ ปรับเปลี่ยนระบบห้องสมุดอัตโนมัติเป็น VTLS
    มีนาคม – มิถุนายน 2542 ศูนย์บรรณสารฯ เสนอระบบห้องสมุดอัตโนมัติใหม่ ต่อมหาวิทยาลัย
     
  • พ.ศ. 2538 – 2539 พัฒนางานระบบฐานข้อมูล และเปิดให้บริการงานการสืบค้น การยืม-คืนด้วยระบบคอมพิวเตอร์
     
  • พ.ศ. 2537
    ธันวาคม 2537  สภามหาวิทยาลัยอนุมัติการจัดซื้อระบบซอฟต์แวร์ “Dynix” 
    11 พฤศจิกายน 2537 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมายังห้องสมุดภาษาจีน และห้องทรงพระอักษร ชั้น 5
    พฤษภาคม 2537  มหาวิทยาลัยมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการวางระบบสารสนเทศของศูนย์บรรณสารสนเทศ เพื่อทำหน้าที่วางระบบสารสนเทศของศูนย์ฯ ให้เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ซอฟต์แวร์กับงานห้องสมุดเพื่อนำเสนอสภามหาวิทยาลัย
    กุมภาพันธ์ 2537  ย้ายมายังอาคารบรรณสารซึ่งเป็นอาคารเอกเทศ 6 ชั้น มีเนื้อที่ใช้สอยประมาณ 8,600 ตารางเมตร เริ่มเปิดให้บริการในระยะแรกเพียง 3 ชั้น คือ ชั้น 2 เป็นส่วนทำการของงานเลขานุการและงานเทคนิคของห้องสมุด ชั้น 3 เป็นห้องบริการค้นคว้าสำหรับคณาจารย์และนักศึกษา และชั้น 5 เป็นส่วนของหนังสือภาษาจีนและห้องทรงพระอักษรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
     
  • พ.ศ. 2535
    กรกฎาคม 2535 
    ย้ายมาตามการตั้งมหาวิทยาลัยที่ ถนนบางนา- ตราด ก.ม.18 อ.บางพลี จ. สมุทรปราการ เปิดบริการที่อาคารเรียน 1 มีพื้นที่ประมาณ 1,024 ตารางเมตร โดยมีสถานที่ทำการ 2 ห้อง คือ บริเวณชั้น 2 เป็นห้องบริการค้นคว้าสำหรับคณาจารย์และนักศึกษา และบริเวณชั้น 3 เป็นห้องทำงานของบรรณารักษ์ฝ่ายงานเทคนิค
    มีนาคม 2535  เริ่มดำเนินการจัดตั้งเป็นห้องสมุดมหาวิทยาลัยโดยใช้พื้นที่ที่วิทยาเขตยศเสเป็นที่ทำการชั่วคราว

Scroll to Top